วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ดอกไม้ประจำอาเซียน

ดอกไม้ประจําชาติอาเซียน






บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) : ดอกซิมปอร์
ดอกไม้ประจำชาติบรูไน ก็คือ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย




ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) : ดอกลำดวน
กัมพูชามีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ ด้วยนะ




สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) : ดอกกล้วยไม้ราตรี
ดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย คือ ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย




สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR) : ดอกจำปาลาว
ดอกไม้ประจำชาติประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างประเทศลาว คือ ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย




ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) : ดอกพู่ระหง
สำหรับประเทศมาเลเซียนั้น มีดอกไม้ประจำชาติเป็น ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย




สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) : ดอกพุดแก้ว
ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ คือ ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วย เช่นกัน




สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore) : ดอกกล้วยไม้แวนด้า
ประเทศสิงคโปร์ มี ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524)




ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) : ดอกราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจำชาติไทยของเรา ก็คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความ รุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น




สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) : ดอกบัว
ประเทศเวียดนาม มีดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” เป็ญสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อย ครั้ง




สหภาพพม่า (Union of Myanmar) : ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำชาติของประเทศพม่า คือ ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่าเลยล่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://pirun.ku.ac.th/~b5410853261/page1.html

สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน (Human Right)

              
                     สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
                1.  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
                 2.  สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง
2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์
4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน
                  3.  หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน  คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน
                  4.  การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
1.  สังคมไทยเป็นสังคมที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นไทยโดยไม่มีการแตกแยก ยอมรับความหลากหลาย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องการแบ่งชนชั้น หรือเผ่าพันธุ์ แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง เช่น  การละเมิดสิทธิเด็ก  เช่น การละเมิดทางเพศ แรงงาน ยาเสพติด อบายมุข ความรุนแรงในการลงโทษ  การละเมิดสิทธิสตรี  ในสังคมไทยยังปรากฏการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในครองครัว ความรุนแรงทางเพศในที่สาธารณะ ที่บ้าน ที่ทำงาน สถานกักกัน การล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต   โรงภาพยนตร์ บนรถเมล์
2.  การเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บุคคลควรมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน  สังคมไทยต่อไปนี้
1.   ศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่พัฒนาความรู้ ทักษะ ค่านิยมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
2.   ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของตนเอง บุคลิกภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่
3.   มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชาติบ้านเมืองอย่างมีอิสรเสรีภาพ
4.   ใช้สิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมให้มีประสิทธิภาพ
5.   ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีดังนี้
1.  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2.  ศาลต่าง ๆ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร
3.  มูลนิธิเพื่อพัฒนาเด็ก
4.  มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน  ซี.ซี.เอฟ
5.  มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
6.  มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
องค์กรสิทธิมนุษยชน  ระดับโลก
1.  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ    2.  กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ  หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF)
ศาลในปัจจุบันจึงมีบทบาทในการให้ความยุติธรรมในด้านสิทธิมนุษยชน เช่น
1.      การคุ้มครองผู้เสียหายตามกฎหมาย
2.       สิทธิของพยานในคดีอาญาที่จะได้รับการคุ้มครองและปฏิบัติที่เหมาะสม
3.       ข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาไม่มีความผิด
4.       การจัดและคุมขังบุคคลใด ๆ ในคดีอาญาจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีคำสั่งหรือหมายศาล ยกเว้นการกระทำผิดซึ่งหน้า
5.       สิทธิของผู้ต้องหาในการให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้
สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและสิทธิมนุษยชนไว้หลายประการ ดังนี้
1.   ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2.  ความเสมอภาคของบุคคล
3.   สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
4.  สิทธิของผู้ต้องหา
5.   สิทธิของพยานและผู้เสียหายในคดีอาญา
6.  สิทธิของเด็ก
7.   เสรีภาพในการนับถือศาสนา
8.  เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
9.  เสรีภาพทางการศึกษา
10.  สิทธิในทรัพย์สิน
11.   สิทธิในบริการสาธารณสุข                                                    12.  สิทธิของคนพิการหรือทุพพลภาพ และของคนชรา
13.   สิทธิของผู้บริโภค                                                                   14.  สิทธิของชุมชนท้องถิ่น
15.   เสรีภาพในการรวมกลุ่ม                                                        16.  สิทธิในการรับรู้และมีส่วนร่วม
17.   สิทธิในการร้องทุกข์และฟ้องคดี                                         18.  สิทธิและเสรีภาพอื่นๆ
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
วันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1948 ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Right: UDHR) โดยสมัชชาแห่งสหประชาชาติ ถือเป็นการกำหนดมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ร่วมกับประเทศต่าง ๆ ให้การรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
สิทธิเด่น ๆ ที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
สิทธิต่อชีวิต เสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล การศึกษา เสรีภาพทางความคิด มโนธรรมและศาสนา เสรีภาพแห่งความคิดเห็น การแสดงออก การมีงานทำ การแสวงหาและได้รับการลี้ภัย ในประเทศอื่น (เป็นต้น)
วันแห่งสิทธิมนุษยชนโลก ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม
หน่วยงานในสหประชาชาติ (UN) ที่รับผิดชอบปัญหาสิทธิมนุษยชน (HR) คือ
สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน ที่เจนีวา ( ชื่อเดิมคือ Centre for Human Rights) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
พันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของไทย
ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสหประชาชาติถือเป็น สนธิสัญญาหลัก จำนวน 5 ฉบับได้แก่
1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ


       ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://kittayaporn28.wordpress.com/

๑๐ วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ทั้ง 10 วิธี
          สุมน อมรวิวัฒน์, วศิน อินทสระ และ เสนาะ ผดุงฉัตร ต่างก็ได้ศึกษาเรื่องโยนิโสมนสิการ และ วรรณา สุติวิจิตร (๒๕๔๑ : ๙–๑๓) ได้ประมวลตัวอย่างมาประกอบเข้ากับวิธีคิดแต่ละวิธีของพระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนี้
1. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ การพิจารณาปรากฏการณ์ที่เป็นผลให้รู้จักสภาวะที่เป็นจริง หรือพิจารณาปัญหา หาหนทางแก้ไขด้วยการค้นหาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์ส่งผลสืบทอดกันมา
2. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ เป็นวิธีคิดแบบจำแนกแยกแยะองค์รวมของสรรพสิ่งออกเป็นองค์ประกอบย่อยๆ หรือคิดวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ขององค์ประกอบย่อยๆ นั้น
3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือวิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือ มองอย่างรู้เท่าทันความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมดาของมันเอง
4. วิธีคิดแบบแก้ปัญหา (แบบอริยสัจ) มีลักษณะทั่วไป ๒ ประการ คือ
4.1 เป็นวิธีคิดตามเหตุและผล สืบสาวจากผลไปหาเหตุแล้วแก้ไขและทำ การที่ต้นเหตุ
4.2 เป็นวิธีคิดที่ตรงจุด ตรงเรื่อง ตรงไปตรงมาไม่ฟุ้งซ่านออกไปเรื่องอื่นและต้องเป็นการแก้ไขที่ปฏิบัติได้จริง
5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ หรือคิดตามหลักการและความมุ่งหมาย เมื่อรู้ว่าหลักการเป็นอย่างไร ความมุ่งหมายเป็นอย่างไร ก็ทำให้ถูกต้องตามหลักการและจุดมุ่งหมายนั้น
6. วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก เป็นการมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
7. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้และคุณค่าเทียม เป็นวิธีคิดที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับความต้องการ และการประเมินค่าของบุคคล
8. วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม เป็นวิธีคิดที่รู้จักนำเอาประสบการณ์ที่ผ่านพบมาคิดปรุงแต่งไปในทางที่ดีงาม เป็นประโยชน์เป็นกุศล ทำให้มีทัศนคติที่ดีต่อบุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม มีจิตใจที่สะอาดผ่องแผ้ว แล้วแสดงออกเป็นพฤติกรรมในทางสร้างสรรค์ต่อไป
9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน คิดตามแบบมหาสติปัฏฐานสูตร เพ่งพิจารณามีสติระลึกอยู่กับสิ่งที่กำลังเป็นอยู่ เกิดขึ้นหรือรู้การกระทำทุกขณะจิต เป็นแนวคิดแห่งปัญญาไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นอยู่ขณะนี้ ล่วงไปแล้ว หรือเป็นเรื่องของการภายหน้า หากเป็นการคิดด้วยปัญญาถูกต้องตามหลักการของพระพุทธศาสนา ก็นับเป็นความคิดในปัจจุบันทั้งสิ้น
10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท วิภัชชวาท มาจาก วิภัชช + วาท วิภัชช แปลว่า แยกแยะ แบ่งออก จำแนก หรือ แจกแจง ใกล้เคียงกับคำว่า วิเคราะห์ วาท แปลว่า การกล่าว การพูด การแสดงคำสอน วิภัชชวาท แปลว่า การพูดแยกแยะ พูดจำแนก หรือ พูดแจกแจง หรือ แสดงคำสอนแบบวิเคราะห์


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://parnward8info.wordpress.com/

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การหมั้น

                             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การหมั้น

  "การหมั้น" เปรียบเสมือนการตีตราจอง หรือการจับจองกันและกันเอาไว้ก่อน ถือเป็นหลักประกันความรักของหนุ่มสาว ก่อนที่จะจูงมือเข้าสู่ประตูวิวาห์ ถ้าจะมองถึงวัตถุประสงค์อีกด้านหนึ่ง การหมั้นก็คือการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาว ได้ศึกษาอุปนิสัยใจคอกันมากขึ้น รู้จักเรียนรู้กันและกัน โดยไม่ให้เป็นที่ติฉินนินทาของคนทั่วไป ถือเป็นผลดีต่อชีวิตคู่ในอนาคต เพราะเมื่อศึกษานิสัยใจคอกันมากขึ้นแล้ว จะทำให้การปรับตัวเข้าหากันเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

          ในสมัยก่อนการแต่งงานของลูกสาวถือเป็นงานออกหน้าออกตาใหญ่โต ฝ่ายหญิงจะเรียกร้องของหมั้น ที่มีราคาแพงอย่างทองคำ จึงทำให้เป็นคำพูดติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า "สินสอดทองหมั้น" ซึ่งประเพณีโบราณถือว่าเจ้าสาวจะนำไปเป็นเครื่องแต่งตัว ในวันแต่งงานนั่นเอง โดยในธรรมเนียการหมั้นจะมี "ขันหมากหมั้น" ซึ่งถือเป็นการวางมัดจำว่า ฝ่ายหญิงที่ถูกหมั้นหมายแล้วจะไม่ชอบพอกับใครไม่ได้อีก หรือผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะยกให้ใครอีกไม่ได้เด็ดขาด

          ส่วนในพิธีหมั้นหรือการยกขันหมากหมั้น มักจะทำก่อนวันแต่ง แต่ในบางพื้นที่การยกขันหมากหมั้นจะทำในวันเดียวกับวันแต่งงาน ก่อนที่พระสงฆ์จะมา หรืออาจทำพิธีสวมแหวนต่อหน้าพระสงฆ์ แต่ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จะไม่มีขันหมากหมั้น จะมีขันหมากแต่งเลย เพราะนิยมหมั้นและแต่งในคราวเดียว จะสวมแหวนสวมเครื่องเพชรเครื่องทองจากเปิดขันหมาก และโรยถั่วงาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หรือถ้าบางบ้านจะอยากให้มีการยกขันหมากหมั้น เกิดขึ้นก่อนวันแต่งจริง ๆ ก็มักจะมีก่อนถึงวันแต่งงาน



          สำหรับขั้นตอนการหมั้น จะเริ่มตั้งแต่ฝ่ายชายเป็นผู้จัดขบวนขันหมาก โดยมีเฒ่าแก่ของฝ่าชาย นำหน้าตามด้วยขันหมาก 3 ขัน หรือ 2 ขัน ซึ่งถือว่าเป็นของสำคัญ และตรงนี้อาจมีของอย่างอื่นร่วมขบวนไปด้วยก็ได้ เช่น ขนม นม เนย และผลไม้ต่าง ๆ มีชายหนุ่มและผู้ติดตาม แต่ในสมัยโบราณไม่จำเป็นต้องให้ฝ่ายชายที่จะหมั้นไปด้วย เพราะเขาจะไม่มีการสวมแหวนกัน เพียงแต่เอาของหมั้นไปขอหมั้นฝ่ายหญิงไว้เท่านั้น แต่ปัจจุบันมักนิยมใช้แหวนเพชรเป็นสักญลักษณ์แห่งสัญญา ฝ่ายชายจึงต้องเป็นผู้ไปสวมแหวนหมั้นให้ฝ่ายหญิงด้วยตัวเอง นอกจากจะแฝงไปด้วยความงดงามของวัฒนธรรมแล้ว ยังจะแฝงไว้ด้วยภาพของความโรแมนติกอีกด้วย

          เมื่อขบวนขันหมากไปถึงบ้านฝ่ายหญิงแล้ว ก็จะมาผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงมาต้อนรับเพื่อเชิญเข้าบ้าน โดยจัดเด็กหรือผู้ถือขันมีพานรอง ใส่พลูจีบยาวต่อยอด และหมากทั้งลูก เจียนเปลือกซอยให้เป็นฝอยมาเชิญ เฒ่าแก่ฝ่ายชายจะต้องใส่ซองเงินหรือของรางวัล ลงในขันเชิญคล้ายกับเป็นการเปิดทางอย่างการกั้นประตูเงินประตูทอง เมื่อผู้ใหญ่ฝ่ายชายมานั่งตรงที่ที่ฝ่ายหญิงจัดไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ก็จะรอฤกษ์ จากนั้นเฒ่าแก่ฝ่ายชายจะออกนามฝ่ายหญิงที่ขอหมั้น แล้วเลื่อนขันหมากให้แก่ฝ่ายหญิง ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะเปิดผ้าคลุมขัน ตรวจของหมั้น เมื่อเห็นว่าถูกต้องเรียบร้อยแล้ว จะมอบให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อนำไปถ่ายของออก ฝ่ายหญิงก็จะใส่ของชำร่วยให้แก่ผู้เชิญขันหมาก และของอื่น ๆ

          สำหรับเฒ่าแก่ฝ่ายชาย บิดารมารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง จะเป็นผู้แจกให้ด้วยตัวเอง จากนั้นจึงเป็นอันเสร็จพิธีหมั้น หลังจากนี้จะมีการเลี้ยงกัน โดยฝ่ายหญิงจะเป็นผู้จัดเลี้ยงให้ก็ได้ ถือว่เป็นการฉลองการหมั้น หรือจะไม่มีเลี้ยงก็ได้ เสร็จพิธีแล้วฝ่ายชายก็จะลากลับ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือขั้นตอนของพิธีการหมั้นอันงดงามแบบไทย

          ปัจจุบันพิธีหมั้นนิยมจัดควบคู่กับพิธีสู่ขอ จึงมักจะตัดขั้นตอนขันหมากออกไป เหลือเพียงการนำสินสอดของหมั้นมาหมั้นฝ่ายหญิง และมีการเลี้ยงฉลองกันในหมู่ญาติ และอาจจัดก่อนหรือจัดในช่วงเช้าของวันแต่งงาน สำหรับคู่ที่ตัดสินใจหมั้นแล้วแต่งเลย การเตรียมงานจะทำควบคู่กันไปถือว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด แต่หากตัดสินใจหมั้นหมายกันไว้ก่อน ควรมีการเตรียมการล่วงหน้า 2 – 3 เดือน เพื่องานที่สมบูรณ์แบบ



 วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา

   

                                                         วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา
    วันสําคัญทางพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่จะยึดตามปฏิทินจันทรคติ เป็นวันที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพุทธประวัติ และเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับศาสนาพุทธ และ วันสำคัญทางศาสนาพุทธ ที่ชาวพุทธยึดถือปฏิบัติมายาวนาน มีดังนี้

          วันมาฆบูชา

          วันมาฆบูชา ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 และมักตรงกับเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม โดยในปีนี้วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งในวันนี้ เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาติโมกข์" แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก อ่านประวัติ ความเป็นมาวันมาฆบูชา คลิกเลย

          วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน โดยในปีนี้วันวิสาขบูชา ตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม 2559  สำหรับวันนี้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการ คือ เป็นวันพระพุทธเจ้าประสูติ , ตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ และเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน อ่านประวัติ ความเป็นมาวันวิสาขบูชา คลิกเลย  

          วันอัฏฐมีบูชา

          วันอัฏฐมีบูชา คือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย) ซึ่งจะห่างจาก วันวิสาขบูชา ไปเพียง 8 วัน เท่านั้น แต่ปัจจุบันแทบไม่เห็นวันอัฏฐมีบูชา ปรากฎบนปฏิทิน ทำให้ วันอัฏฐมีบูชา นับวันยิ่งถูกลืม อ่านประวัติ ความเป็นมาวันอัฏฐมีบูชา คลิกเลย

          วันอาสาฬหบูชา

          วันอาสาฬหบูชา  ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี  โดยในปีนี้วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 19 กรกฎาคม 2559 สำหรับวันนี้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้งแก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ทรงตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดย สมบูรณ์ อ่านประวัติ ความเป็นมาวันอาสาฬหบูชา คลิกเลย

          วันเข้าพรรษา

          วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น ในปีนี้วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 19 กรกฎาคม ซึ่งวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวัน อาสาฬหบูชา ปีนี้วันเข้าพรรษาตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม 2559 พุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไป ได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัย สุโขทัย อ่านประวัติ ความเป็นมาวันเข้าพรรษา คลิกเลย


          วันออกพรรษา

          วันออกพรรษา นั้นถือว่า เป็นวันของการสิ้นสุดระยะในการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด 3 เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดย วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารนา" คำว่า "ปวารนา" นั้นแปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้"   เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย  โดยในปีนี้วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม 2559 อ่านประวัติ ความเป็นมาวันออกพรรษา คลิกเลย

          วันโกน

          วันโกน  ที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ 1 วัน โดยวันนี้เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ประชุมสนทนาธรรมและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนตามคำขออนุญาตของพระเจ้าพิมพิสาร และเมื่อพระพุทธศาสานาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศไทย พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวมาเป็นวันธรรมสวนะเพื่อถือศีล ปฏิบัติธรรม ประกอบบุญกุศล และกระทำกิจของสงฆ์มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

           วันพระ

          วันพระ มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ) โดยวันพระเป็นวันประชุมของพุทธศาสนิกชน เพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม)

          เมื่อรู้ ถึงความสำคัญของ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแล้ว เยาวชนซึ่งถือว่าเป็นพุทธศาสนิกชนคนหนึ่ง ควรนำหลักธรรมต่าง ๆ มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิต อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะชาวพุทธ และยังเป็นการช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไป

สิทธิตามกฎหมายแรงงาน

                                                     
                                                 
● เวลาทำงาน

- ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์งานอันตรายตามที่กำหนดในกฏกระทรวง

- ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

● เวลาพัก

- ในวันที่มีการทำงานให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง

ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน

- นาย จ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง ก็ได้แต่ต้อง

ไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาทีและเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง

- กรณี งานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้

นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

● วันหยุดประจำสัปดาห์

 ต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน

- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ (ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมง

หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย)

- นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้

- งาน โรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร (งานประมงงานดับเพลิง) งาน

อื่นตามที่กฎกระทรวงฯ กำหนด นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า สะสมและเลื่อนวันหยุด

ประจำสัปดาห์ไปเมื่อไดก็ได้แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา ไม่เกิน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน

- กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่แน่นอน ให้นายจ้างประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า

ไม่น้อยกว่า 3 วันและแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานตรวจแรงงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่

ประกาศกำหนด



● วันหยุดตามประเพณี



- ต้อง ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย ถ้าวันหยุด ตามประเพณี

ตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป

- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี

● วันหยุดพักผ่อนประจำปี

- ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่า

ปีละ 6 วันทำงาน

- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี

- ถ้าลูกจ้างที่ทำงานยังไม่ครบ 1 ปี จะให้หยุดตามส่วนก็ได้

- ให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหรือกำหนด

ตามที่ตกลงกัน

- นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวม

หยุดในปีอื่นก็ได้

● การลาคลอด

- ลูกจ้าง ซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน

โดยให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง ซึ่งลาคลอด

เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

● การลาเพื่อทำหมัน

- ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิ์ลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะ เวลาที่แพทย์

แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และออกใบรับรองให้โดยลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันลานั้นด้วย

● การลากิจ

- ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

● การลาเพื่อรับราชการทหาร

- ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึก วิชาทหาร หรือ

เพื่อทดสอบความพรั่งพร้อม โดยลาได้เท่ากับจำนวนวันที่ทางการทหารเรียก และได้รับค่าจ้างตลอด

เวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี

● การลาเพื่อฝึกอบรม

- ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธี

การที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันลานั้น

● ค่าจ้าง

- เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตาม สัญญาจ้าง

สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้

โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และรวมถึงเงินที่นายจ้าง

จ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมายคุ้มครอง

แรงงาน

- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ

- ถ้า ไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่ใดให้ถือว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ พื้นฐานเป็น

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของท้องที่นั้น (อัตรค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการ

ค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ)

● การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด

- ใน กรณีที่งานมีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะ เสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน

นายจ้างอาจให้ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้

- กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม

สถานพยาบาล และกิจการอื่นตามที่กระทรวงจะได้กำหนดนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานใน วันหยุดเท่า

ที่จำเป็นก็ได้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป

- ใน กรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า สองชั่วโมง นายจ้าง

ต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก ไม่น้อยกว่ายี่สิบนาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่ม ทำงานล่วงเวลา (ยกเว้นงานที่

มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงาน

ฉุกเฉิน)

● ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด

- ถ้า ทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่า

หนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่ง

เท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับ

ค่าจ้างตามผลงาน

- ถ้า ทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานนายจ้างต้องจ่าย ค่าล่วงเวลาใน

วันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่

ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

- ถ้า ทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้าง

ที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานใน

วันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็น

หน่วย สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างใน

วันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงาน ที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้าง

ตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

● ค่าชดเชย

- ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้

1. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน

2. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับ

ค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน

3. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับ

ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน

4. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับ

อัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน

 5. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง

อัตราสุดท้าย300 วัน

- ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิตการจำหน่าย

หรือการบริการอันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่อง จักรหรือเทคโนโลยี ซึ่ง

เป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้

1. แจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้าง และรายชื่อลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้างให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงาน ทราบล่วงหน้าไม่ น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้างถ้าไม่

แจ้ง แก่ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาหกสิบวัน

2. ถ้าไม่แจ่งก่อนล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วัน นายจ้างต้องจ่าย

ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างเท่ากับค่า จ้างอัตราสุดท้ายหกสิบ

วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่า จ้าง

ตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านี้ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายค่าสินจ้างแทน การบอกกล่าว

ล่วงหน้าตามกฎหมายด้วย

นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติดังต่อไปนี้

1. ลูกจ้าง ทำงานติดต่อกันครบหกปีขึ้นไป นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย พิเศษเพิ่มขึ้น

จากค่าชดเชยปกติซึ่งลูกจ้างนั้นมีสิทธิได้รับอยู่แล้ว ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย

สิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปี หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสิบห้าวันสุดท้าย

ต่อการทำงาน ครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย


2. ค่าชดเชยพิเศษนี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อย หกสิบวัน หรือไม่

เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม

ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย แต่รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบ

วัน


3. เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ เศษของระยะเวลาทำงานที่มากกว่าหนึ่ง

ร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี


- ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบ สำคัญต่อ

การดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว

1. นาย จ้างต้องแจ้งล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนย้าย

ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าร้อย ละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยปกติที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับ

2. ถ้านายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถานประกอบกิจการล่วงหน้า นายจ้างต้อง

จ่ายค่าชดเชยพิเศษ แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน

 ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย : ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในกรณีใดกรณีหนึ่ง

ดังนี้

- ลูกจ้างลาออกเอง

- ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

- ฝ่าฝืน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง

นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่

วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดย

ไม่มีเหตุอันสมควร

- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก


กรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้าง ตามกำหนดระยะเวลา

นั้น ได้แก่งานดังนี้

1. การจ้างงานในโครงการ เฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือ การค้าของนายจ้างซึ่ง

ต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน

2. งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว ที่มีกำหนดงานสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน

3. งานที่เป็นไปตามฤดูกาล และได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งจะต้องแล้วเสร็จ

ภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือ ไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

 ● การใช้แรงงานหญิง

 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานต่อไปนี้

 - งาน เหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา

เว้นแต่ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น

- งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป

- งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ

- งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 ห้าม นายจ้างให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานในระหว่างเวลา 22.00น.-06.00น. ทำงานล่วง

เวลา ทำงานในวันหยุดหรือทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

 - งานเหมืองแร่หรืองาน ก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องใน

ภูเขาเว้นแต่- - - ลักษณะของงาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ร่างกายของลูกจ้าง

หญิงนั้น

- งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน

- งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ

- งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม

- งานที่ทำในเรือ

- งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 ● การใช้แรงงานเด็ก

 - ห้ามนายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง

- กรณีที่มีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นลูกจ้าง นายจ้างต้องแจ้งต่อพนักงาน ตรวจแรงงาน

ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ เด็กเข้าทำงาน และแจ้งการสิ้นสุดการ จ้างเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน นายจ้างต้องจัดให้มีเวลาพัก 1 ชั่วโมงต่อวันภายใน 4 ชั่วโมงแรกของ การทำงาน และให้มีเวลาพักย่อยได้ตามที่นายจ้างกำหนด

- ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 - 06.00 น.

เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี

- ห้ามนายจ้างใช้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลา

- ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานต่อไปนี้

- งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ

- สถานที่เล่นการพนัน

- สถานที่เต้นรำ รำวง หรือ รองเง็ง

- สถาน ที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่ม อย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดย

มีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกจ้าง หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือมีบริการนวด

ให้แก่ลูกค้าสถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 - ห้ามนายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กแก่บุคคลอื่น

- ห้ามนายจ้างเรียก/หรือรับ เงินประกันจากฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กลูกจ้าง ซึ่งเป็นเด็กอายุ

ต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเพื่อเข้าประชุม สัมมนา รับการอบรม รับการฝึก หรือลาเพื่อการอื่น

ซึ่งจัดโดยสถานศึกษา หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่อธิบดีเห็นชอบ และให้นายจ้าง

จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างเด็กเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้อง

ไม่เกิน 30 วัน

 ● หลักฐานการทำงาน

 - นาย จ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็น

ภาษาไทย ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้างและ ส่งสำเนาให้อธิบดี

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

- ข้อ บังคับฯ ต้องระบุเรื่องต่างๆ ดังนี้ วันทำงาน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก วันหยุดและ

หลักเกณฑ์การหยุดหลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงาน ในวันหยุด วันและสถานที่

จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดวันลาและหลักเกณฑ์

การลา วินัยและโทษ การร้องทุกข์ และการเลิกจ้าง

- ทะเบียนลูกจ้างต้องมีชื่อ เพศ สัญชาติ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ปัจจุบัน วันเริ่มจ้าง ตำแหน่งหรือ

งานในหน้าที่อัตราค่าจ้าง และประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ ที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างและวั

นสิ้นสุดการจ้าง

- เอกสาร เกี่ยวกับการคำนวณค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ต้องระบุ วันเวลาทำงาน

ผลงานที่ทำได้สำหรับการจ้างตามผลงาน และจำนวนเงินที่จ่าย โดยมีลายมือชื่อลูกจ้างผู้รับเงิน

 ● การควบคุม

 นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จะต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็น

ภาษาไทย อย่างน้อยต้องมี รายละเอียดดังนี้

 - วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก

- วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด

- หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด

- วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด

- วันลาและหลักเกณฑ์การลา

- วินัยและโทษทางวินัย

- การร้องทุกข์

- การเลิกจ้าง ค่าชดเชยและชดเชยพิเศษ

 นายจ้างต้องประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วัน นับจากวันที่มีลูกจ้าง

รวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป

 นายจ้างต้องปิดประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ ทำงานของ

ลูกจ้างให้ประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อไปแม้ว่านายจ้างจะมีลูกจ้าง ลดต่ำกว่า

10 คนก็ตาม

 ● การร้องทุกข์ของลูกจ้าง

 ลูกจ้างเรียกร้องสิทธิของตนอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายแรงงาน ของนายจ้างได้โดย

 - ลูกจ้างนำคดีไปฟ้องศาลแรงงาน

- ลูกจ้างยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงาน

 การยื่นคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือทายาท

 - ยื่นคำร้องทุกข์ตามแบบที่อธิบดีกำหนด

- ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานในท้องถิ่นที่ลูกจ้างทำงานยู่

 การพิจจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานตรวจแรงงาน

- เร่งสอบสวนข้อเท็จจริงจากนายจ้าง ลูกจ้าง และพยานโดยเร็ว รวมทั้งการรวบรวม

หลักฐานที่เกี่ยวข้องด้วยเมื่อสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ต้องมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน

หรือยกคำร้องทุกข์ของลูกจ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง

- การรวบรวมข้อเท็จจริง และการมีคำสั่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน นับแต่

วันรับคำร้องทุกข์ไว้ดำเนินการ

- ถ้า ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ให้ขอขยายระยะเวลา ต่ออธิบดี

หรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยขอขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 30 วัน

 การฝ่าฝืนกฏหมาย

 - อธิบดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นใน กรุงเทพฯผู้ว่าราชการ

จังหวัดมีอำนาจเปรียบเทียบปรับสำหรับความผิด ที่เกิดขึ้นภายในจังหวัดชำระค่าปรับ

ภายใน 30 วัน นับเท่าวันที่ได้รับแจ้ง

- ผลคดี คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน ถ้าไม่ยอมเปรียบเทียบปรับหรือไม่ชำระค่าปรับภา

ยในกำหนด พนักงานสอบสวน (ตำรวจ) จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมาย ต่อไป






อุปสงค์(demand) และอุปทาน (supply)

                                              
อุปสงค์(demand) และอุปทาน (supply) เป็นโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ ใช้สำหรับอธิบายการเปลี่ยนแปลงของราคาและจำนวนของสินค้าในตลาด ในทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค

อธิบายว่าระดับราคามีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลมาจากดุลยภาพระหว่างปริมาณความต้องการของสินค้า และจำนวนสินค้าที่มีอยู่ในขณะนั้น เส้นกราฟได้แสดงให้เห็นว่าเมื่ออุปสงค์ได้เพิ่มขึ้นจาก D1 ไปยัง D2 จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทั้งระดับราคาและปริมาณสินค้า ซึ่งจะกลายเป็นจุดดุลยภาพใหม่บนเส้นโค้งอุปทาน (S)]] ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคว่าด้วย อุปสงค์และอุปทาน พยายามอธิบายและทำนายถึงระดับราคาและปริมาณสินค้าที่มีการขายในตลาดที่มีการแข่งขัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นหนึ่งในเรื่องพื้นฐานของแบบจำลอง ทางเศรษฐศาสตร์ที่พบได้ทั่วไป เนื่องจากมักจะถูกใช้เป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำหรับแบบจำลองและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ชั้นสูง

กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลทางทฤษฎีจะระบุว่าเมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูกขายในตลาด ณ ระดับราคาที่ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากกว่าจำนวนสินค้าที่สามารถผลิตได้แล้ว ก็จะเกิดการขาดแคลนสินค้าขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับราคาของสินค้า โดยที่ผู้บริโภคกลุ่มที่มีความพร้อมในการจ่ายชำระ ณ ระดับราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นก็จะส่งผลให้ราคาตลาดสูงขึ้น ในทางตรงข้ามระดับราคาจะต่ำลงเมื่อปริมาณสินค้าที่มีให้นั้นมีมากกว่าความต้องการที่เกิดขึ้น กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปจนกระทั่งตลาดเข้าสู่จุดดุลยภาพ ซึ่งเป็นจุดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นอีก เมื่อใดก็ตามที่ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าที่จุดดุลยภาพนี้ ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ผู้ซื้อตกลงซื้อที่ระดับราคาดังกล่าวแล้ว ณ จุดนี้กล่าวได้ว่าตลาดเข้าสู่จุดสมดุล

ทฤษฎีอุปสงค์และอุปทานมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบตลาดในฐานะที่มันได้อธิบายกลไกการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่เกิดขึ้น แต่สำนักนีโอคลาสสิกได้โต้แย้งว่า ความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทานจะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขปกติที่เรียกว่า ดุลยภาพทั่วไป

อุปสงค์ คือ ปริมาณความต้องการสินค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยความต้องการดังกล่าวนี้ต้องเป็นความต้องการที่สามารถจ่ายได้ (willingness to pay) หรือต้องเป็นอุปสงค์ที่มีศักยภาพ (effective demand) โดยทั่วไปมักใช้เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับระดับราคา โดยอุปสงค์จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับระดับราคา กล่าวคือ เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ความต้องการสินค้าชนิดนั้นจะลดลง อย่างไรก็ตามคำว่าอุปสงค์ชนิดนี้อาจใช้ได้กับทั้งบุคคล และระดับประเทศได้ เช่น อุปสงค์มวลรวม (aggregated demand) ซึ่งหมายถึงความต้องการสินค้าและบริการทั้งประเทศ (เศรษฐศาสตร์มหภาค)
อุปทาน คือ ปริมาณเสนอขายสินค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง(และต้องมีความสามารถในการผลิตปริมาณสินค้าในระดับการผลิตที่ยินดีเสนอขายด้วย) อุปทานในที่นี้อาจใช้หมายถึง หน่วยผลิต ผู้ผลิต ก็ได้ โดยปริมาณอุปทานจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระดับราคา กล่าวคือ เมื่อระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ขายจะยินดีเสนอขายสินค้าในปริมาณที่เพิ่มขึ้น